ก่อตั้งเมื่อ
๖ ส.ค. ๒๔๙๕ - ได้จัดตั้งขึ้นโดยเป็นแผนกหนึ่งใน กองการสงเคราะห์
๒๖ มี.ค. ๒๕๐๑ - แผนกออมสิน กองการสงเคราะห์ เปลี่ยนเป็น แผนกออมทรัพย์ กองการสงเคราะห์
๔ ม.ค. ๒๕๑๔ - ย้ายสำนักงานมาอยู่ใน วังสวนกุหลาบถนนราชสีมา ดุสิต กรุงเทพฯ
และได้เปลี่ยนจากแผนกออมทรัพย์ กองการสงเคราะห์ เป็น "กองการออมทรัพย์"
๔ ต.ค. ๒๕๓๖ - ย้ายสำนักงานมาอยู่ที่อาคาร ๔ ชั้น ภายในบริเวณ หอประชุมกองทัพบก ถนนราชสีมา
ดุสิต กรุงเทพฯ
๑๐ ก.ย.๒๕๖๒ - ย้ายสำนักงานมาอยู่ ณ ที่ตั้ง "กรมสวัสดิการทหารบก"
๑๑๓๙ ถ.เทอดดำริห์ ข.ถนนนครไชยศรี ข.ดุสิต กรุงเทพฯ 10300
"ซึ่งเป็นที่ทำการในปัจจุบัน"
ความเป็นมา
หลังจากสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง เรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๙๐ ปรากฏว่าภาวะเศรษฐกิจของประเทศไทยประสบปัญหายุ่งยาก บรรดาทหารและประชาชนต้องประสบกับความยากแค้นเกี่ยวกับการครองชีพ โดยเฉพาะในด้านเครื่องอุปโภคบริโภค ฯพณฯ จอมพล ป.พิบูลสงคราม
ในฐานะผู้บัญชาการทหารบก ได้พิจารณาเห็นว่า หากปล่อยให้ภาวะการครองชีพเป็นเช่นนี้ต่อไป จะทำให้ทหารซึ่งเป็นรั้วของชาติตกอยู่ในฐานะลำบาก อันจะเป็นภัยแก่ชาติอย่างใหญ่หลวง จึงได้หาทางแก้ไขโดยวางวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาดำเนินการสงเคราะห์ช่วยเหลือเกื้อกูลแก่ข้าราชการประจำการในกองทัพบก
และได้ออกคำสั่งกองทัพบกที่ ๒๑/๑๗๖๙ ลง ๑๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๑ ตั้ง "องค์การสงเคราะห์ทหารบก" ขึ้นที่กรมเสนาธิการทหารบก
ในศาลาว่าการกระทรวงกลาโหม นับว่าเป็นการริเริ่มขั้นต้นของ "กิจการสวัสดิการ" การดำเนินงานขั้นต้นของ "องค์การสงเคราะห์ทหารบก"
ในระยะแรกเริ่มมีกำลังพลเพียง ๔-๕ นาย ซึ่งเป็นกำลังพลจากกรมเสนาธิการทหารบก แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาต่างๆ ได้โดยรวดเร็วสมความมุ่งหมายของทางราชการ เนื่องจากเป็นงานใหญ่ต้องใช้เจ้าหน้าที่จำนวนมาก และกองทัพบกได้เห็นความจำเป็นว่าเป็นกิจการพิเศษสำคัญอีกกิจการหนึ่งในกองทัพบก
จึงได้เสนอต่อรัฐบาลออกเป็นพระราชกฤษฎีกาให้จัดตั้ง "กรมสวัสดิการทหารบก" ขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของกองทัพบก แล้วออกคำสั่งกองทัพบกที่ ๑๓๔/๑๒๐๐๔ ลง ๒๙ กันยายน ๒๔๙๑
จัดตั้งกรมสวัสดิการทหารบกขึ้น และให้ยกเลิก "องค์การสงเคราะห์ทหารบก"
ที่ตั้งไว้เดิมนั้นเสีย วัตถุประสงค์ในการจัดตั้งกรมสวัสดิการทหารบก ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ ๖๕ ตอนที่ ๕๓ ลง ๑๔ กันยายน ๒๔๙๑ นั้น ได้อาศัยเค้าโครงจาก ทบ. สหรัฐนำมาดัดแปลงแก้ไขให้เหมาะสมกับสภาวะการณ์ขณะนั้น ซึ่งมีวัตถุประสงค์อยู่
๙ ประการ คือ
- ส่งเสริมการครองชีพให้ข้าราชการ ลูกจ้าง คนงาน ตลอดจนครอบครัว มีการครองชีพเหมาะสมแก่ฐานะ และได้ใช้ เครื่องอุปโภคบริโภคในราคาถูก
- จัดให้มีการศึกษาวิชาชีพอันทันสมัยแก่ทหาร ในขณะประจำการ เมื่อปลดเป็นกองหนุนไปแล้ว จะได้ใช้ความรู้ประกอบอาชีพส่วนตัวได้
- ให้การศึกษาแก่บุตรธิดาของทหาร โดยจัดตั้งโรงเรียนขึ้นในหน่วยทหาร ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
- ให้มีการอบรมศีลธรรมแก่ทหาร โดยจัดอนุศาสนาจารย์อบรมเป็นครั้งคราว
- ส่งเสริมการกีฬาให้ทหารมีพลานามัยสมบูรณ์ มีน้ำใจเป็นนักกีฬาและมีความสามัคคี
- ให้การบันเทิงแก่ทหาร เพื่อให้เกิดความสดชื่นเบิกบานและได้มีการพักผ่อนหย่อนอารมณ์ตามสมควร
- ช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนของทหารประจำการโดยให้กู้ยืมเงินเพื่อใช้จ่ายในกิจจำเป็น
และช่วยเหลือในหน่วยทหารยืมเงินไปลงทุนประกอบอาชีพและใช้จ่ายในกิจจำเป็นได้
- จัดสรรที่ดินและอาคาร ให้ทหารเช่าซื้อและมีกรรมสิทธิ์เป็นของตนเองตามควรแก่ฐานะ
- จัดการด้านฌาปนกิจสำหรับทหาร ข้าราชการและครอบครัวให้สมเกียรติ
การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญของ กองการออมทรัพย์
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๑
ในปี พ.ศ.๒๔๙๓ สก.ทบ. ได้รับมอบภารกิจเพิ่มเติมในการสงเคราะห์ การจัดพิธีสมรสของข้าราชการ ทบ. ให้ถูกต้องตามประเพณีนิยม และสมเกียรติ ทั้งนี้เพื่อปลดเปลื้องความหนักใจ และค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธี
โดยให้ สก.ทบ. เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการและอำนวยการ ตลอดจนจัดอาคารสถานที่ของทางราชการให้เป็นที่ประกอบพิธีด้วย นับเป็นการเปลี่ยนแปลงโดยการเพิ่มงานภารกิจเดิมเป็นครั้งแรก
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๒
ในปี ๒๔๙๕ สก.ทบ. ได้รับโอนงานด้านกิจการสโมสรทหารบก จากกรมพลาธิการทหารบกมาอยู่ในความรับผิดชอบและดำเนินงานโดยตลอด
ต่อมากระทรวงกลาโหม ได้ออกข้อบังคับว่าด้วยการกำหนดหน้าที่และส่วนราชการใน
ทบ. พ.ศ.๒๔๙๕ ลง ๒๙ พ.ย. ๒๔๙๕
ข้อบังคับฉบับนี้กำหนดให้ สก.ทบ. เป็นส่วนราชการส่วนหนึ่งของ ทบ. โดยรวมอยู่ในฝ่ายกิจการพิเศษ มีหน้าที่พอสรุปได้ดังนี้
- เสนอความคิดเห็นต่อผู้บังคับบัญชาในกิจการพิเศษของ ทบ. และรายงานกิจการต่างๆ ให้ผู้บังคับบัญชาทราบเรื่องใดอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายเสนาธิการ ก็ให้ผ่านเรื่องนั้นไปยังเจ้าหน้าที่ฝ่ายเสนาธิการดำเนินการ
- มีเจ้าหน้าที่ส่งเสริมสวัสดิภาพ บำบัดทุกข์ บำรุงสุข ทั้งในด้านทรัพย์สินและเครื่องอุปโภคบริโภค
- มีหน้าที่รับผิดชอบดำเนินงานในด้านต่างๆ เช่น กิจการไปรษณีย์ การอนุศาสนาจารย์ การกีฬาและบันเทิง การฌาปนกิจ
และการสงเคราะห์ การศึกษาบุตร-ธิดาของข้าราชการ ทบ.
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๓
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๖ กองทัพบกได้ออกระเบียบ ทบ. ว่าด้วยการออมทรัพย์สำหรับข้าราชการ ทบ.
และมอบให้ สก.ทบ. เป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการ สก.ทบ. จึงมีภารกิจในด้านการออมทรัพย์ เพิ่มขึ้นอีกประการหนึ่งในปีนี้
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๔
ในปี พ.ศ. ๒๔๙๕ สก.ทบ. ได้เปลี่ยนจากกรมฝ่ายกิจการพิเศษมาขึ้นอยู่ในฝ่ายธุรการตามพระราชกฤษฎีกาจัดวางระเบียบราชการ ทบ.
ในกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๔๙๙ (ราชกิจจานุเบกษาเล่ม ๗๓ ตอนที่ ๔๘
ลง ๑๒ มิ.ย. ๙๙) ในปีนี้ ทบ.ได้ออกคำสั่งโอนกิจการอนุศาสนาจารย์
เฉพาะอัตราหัวหน้ากองแผนกอนุศาสนาจารย์ไปให้ ยศ.ทบ. และต่อมาภายหลังจึงได้โอนกิจการอนุศาสนาจารย์ไปขึ้นกับ ยศ.ทบ. โดยสิ้นเชิง
ส่วนกิจการฌาปนกิจยังคงอยู่ในความรับผิดชอบของ
สก.ทบ. ตามเดิม
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๕
ในปี พ.ศ. ๒๕๐๐ กระทรวงกลาโหม ได้กำหนดให้ สก.ทบ. กลับมาเป็นกรมฝ่ายกิจการพิเศษอีก โดยขึ้นอยู่ในส่วนกลางของ ทบ.
ตามพระราชกฤษฎีกาการแบ่งส่วนราชการ และกำหนดหน้าที่ส่วนราชการ ทบ. ในกระทรวงกลาโหม
พ.ศ.๒๕๐๐ (ราชกิจจานุเบกษา) เล่ม ๗๔ ตอนที่ ๑๑๑ ลง ๒๘ ธ.ค. ๒๕๐๐) พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้กำหนดให้ สก.ทบ. มีหน้าที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพบำบัดทุกข์บำรุงสุข
ทั้งในด้านทรัพย์สิน และเครื่องอุปโภคบริโภค ส่งเสริมการศึกษาวิชาชีพ
และการกีฬาแก่ข้าราชการ ทบ. และครอบครัว
โดยมี จก.สก.ทบ. เป็นผู้บังคับบัญชารับผิดชอบ ต่อจากนั้นมีการเปลี่ยนแปลงแผนการจัดเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้นว่า
- ปี ๒๕๐๑ ตั้งเป็น ๖ กอง กับ ๓ ฝ่าย(ตามระเบียบกระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๐๑ ลง ๒๖ มีนาคม ๒๕๐๑)
- ปี ๒๕๐๔ เปลี่ยนชื่อกองกลาง เป็นกองธุรการ
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๖
เป็นการเปลี่ยนแปลงอัตราการจัด ชื่อกอง ชื่อแผนก ฯลฯ ซึ่งได้เปลี่ยนที่อยู่หลายครั้งตามความเหมาะสม ครั้งที่สำคัญที่สุดก็คือ
การเปลี่ยนแปลงเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ ตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ) ที่
๑๔/๐๘ ลง ๑๗ ก.พ. ๐๘ คำสั่งฉบับนี้ได้เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดของ สก.ทบ. ดังนี้ คือ
- ยุบแผนกไปรษณีย์ และโอนกิจการไปให้ สก.ทบ.
- ย้ายแผนกขนส่งจากกองจัดหาและจำหน่ายมาเป็นแผนกบริการขึ้นกับกองธุรการ
- ย้ายแผนกศึกษากองการสงเคราะห์ ไปขึ้นกับกองส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ
- เพิ่มแผนกบริการและบันเทิงอยู่ในกองกีฬาและบันเทิง
- เปลี่ยนชื่อแผนกกีฬาและบันเทิง เป็น "แผนกกีฬา" ตัดคำว่า "บันเทิง" ออก
- เปลี่ยนชื่อแผนกสโมสร เป็น "แผนกกิจการสโมสร"
- เปลี่ยนกองกสิกรรมและอุตสาหกรรม เป็น "ฝ่ายแผนและโครงการ"
- เปลี่ยนชื่อกองฌาปนกิจ เป็น "กองการฌาปนกิจ" มี นขต. ๒ แผนก คือ แผนกสมาชิก และ แผนกพิธี
(เปลี่ยนชื่อแผนกสมาชิกฌาปนกิจ เป็น "แผนกสมาชิก และเปลี่ยนชื่อ แผนกสุสานและฌาปนกิจ เป็น "แผนกพิธี")
- เปลี่ยนชื่อกองจัดหาและจำหน่าย เป็น "กองส่งเสริมการศึกษาและอาชีพ" มี นขต.๒ แผนก คือ
แผนกศึกษา และแผนกร้านค้า สำหรับแผนกสหกรณ์ในกองจัดหาและจำหน่ายยุบเลิก
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๗
ในปี พ.ศ. ๒๕๑๑ ทบ. ได้ออกคำสั่ง กองทัพบก(เฉพาะ)ลับ ที่ ๙๒/๑๑ เรื่อง แก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่ ๒๙) ลง ๒ ส.ค. ๑๑
ซึ่งคำสั่งนี้ได้เปลี่ยนแปลงอัตราการจัดของ สก.ทบ. ตือ มีกองกิจการสโมสรเพิ่มขึ้นอีก
๑ กอง และ สก.ทบ. มีภารกิจในการดำเนินการเกี่ยวกับกิจการสโมสรเพิ่มขึ้นอีกด้วย
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๘
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๑ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอัตราการจัดของ สก.ทบ.ใหม่ ให้ทันสมัยและมีความเหมาะสมกับปริมาณงานที่เพิ่มมากขึ้น
ตามคำสั่งกองทัพบก(เฉพาะ)ลับที่ ๔๒/๒๑ เรื่องแก้อัตรากองทัพบก
๒๕๐๖(ครั้งที่ ๔๐) ลง ๔ เม.ย. ๒๑ มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือ
ปรับขยายฝ่ายแผนและโครงการเป็นกองแผนและโครงการจัดตั้งกองการออมทรัพย์ขึ้นเพื่อรับผิดชอบเรื่อง เงินกู้และเงินฝากของข้าราชการโดยเฉพาะ แยกออกมาจากกองการสงเคราะห์และปรับปรุงกองธุรการ
เหลือเป็นแผนกธุรการโดยแยกแผนกขนส่งออกไปเป็นหน่วยขึ้นตรง สก.ทบ. และปรับย้ายการเงิน ฝ่ายพลาธิการ เป็นแผนกการเงินและแผนกพลาธิการ
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๙
ในปี พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอัตราการจัดของ สก.ทบ.ใหม่อีก เพื่อให้เกิดความเหมาะสมในการปฏิบัติภารกิจโดยเฉพาะเกี่ยวกับด้านการเงิน โดยเพิ่มหน่วยงานขึ้นอีก ๓ แผนก คือ แผนกตรวจสอบและติดตามหนี้สินในกองการออมทรัพย์
แผนกบัญชีในกองกิจการร้านสวัสดิการกลาง และ แผนกการเงินฌาปนกิจในกองการฌาปนกิจตามคำสั่งกองทั บก(เฉพาะ)ลับที่ ๑๖๐/๒๔ ลง ๒ ก.ค. ๒๘ เรื่องแก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่ ๑๓)
- การเปลี่ยนแปลงครั้งที่ ๑๐
ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ได้มีการปรับปรุงแก้ไขอัตราการจัดของ สก.ทบ. ใหม่ เนื่องจากในปัจจุบันความต้องการในด้านการสวัสดิการของแต่ละบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย และทบ.
มีนโยบายให้บุคคลในสังกัดกองทัพบก
ได้รับการสวัสดิการอย่างเพียงพอ โดยเพิ่มหน่วยงานขึ้นอีก ๕ หน่วย คือ กองธุรการ, แผนกส่งกำลังในกองแผนและโครงการ, แผนกวิทยาศาสตร์การกีฬา ในกองการกีฬา, แผนกยุทโยธาในกองการสงเคราะห์, แผนกควบคุมรายได้และทรัพย์สิน กองกิจการสโมสร
และแผนกคลังสินค้า กองกิจการร้านสวัสดิการกลางตามคำสั่ง ทบ.(เฉพาะ)ลับที่ ๓๕/๓๒ ลง ๑๖ มี.ค. ๓๒ เรื่องแก้อัตรากองทัพบก ๒๕๐๖ (ครั้งที่๖)
ระยะเวลา 50 กว่าปีที่ผ่านมา ชาวกรมสวัสดิการทหารบกรุ่นแล้วรุ่นเล่าได้ช่วยกันพัฒนาปรับปรุงงานการให้บริการแก่ข้าราชการกองทัพบก ให้ก้าวหน้า ทันสมัย และรวดเร็ว เพื่อความมุ่งหมายของความพึงพอใจสำหรับผู้มาใช้บริการ